วัดสมรโกฏิ

วัดสมรโกฏิ [สะ-หฺมอ-ระ-โกด] เป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ตั้งอยู่ในตำบลบางกระสอ อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี มีพื้นที่ทั้งหมด 22 ไร่ 2 งาน 92 ตารางวา และมีที่ธรณีสงฆ์ 1 แปลง มีเนื่อที่ 8 ไร่ 40 ตารางวา

วัดสมรโกฏิตั้งเป็นวัดเมื่อ พ.ศ. 2384 ไม่ทราบนามและประวัติผู้สร้าง แต่น่าจะเป็นวัดเก่า การสร้างวัดแต่เดิมนั้นเริ่มมาจากสมัยอยุธยา โดยพระเจ้าอู่ทองพร้อมด้วยราชบริพารและประชาชนทั่วไปอพยพหนีโรคร้ายมาพำนักอาศัยแถวบริเวณนี้ เมื่อนานเข้าแม้โรคระบาดระงับไปแล้ว ผู้ที่ยังพำนักอยู่ก็ดีหรือผู้ที่ทิ้งบ้านเรือนไว้ก็ดีได้สร้างเป็นวัดขึ้นมา วัดได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2513 พื้นที่บางส่วนของวัดได้ใช้เป็นโรงเรียนชุมชนวัดสมรโกฏิ (อยู่พูนราษฎร์บำรุง)

พระอุโบสถหลังใหม่ สร้างขึ้นจากนำบานประตูหน้าต่าง เพดานของอุโบสถหลังเก่ามาใช้ ซึ่งหน้าบันนั้นเป็นไม้สักแกะสลักเป็นรูปนกประดับด้วยพุดตานเทศ มีรูปช้างทรงเครื่อง ยืนอยู่เหนือเมฆตรงกลางลายกระหนก พระประธานเป็นปางมารวิชัยสมัยสุโขทัย วิหารเก่าแก่ซึ่งมีหน้าบันเป็นไม้สักแกะสลักเป็นรูปกระหนกดอกจอก มีรูปม้าทรงเครื่องอยู่ภายในกระหนก ซุ้มบานประตู ซุ้มหน้าต่าง เป็นลายดอกไม้ปูนปั้นยังคงเหลืออยู่บ้าง บานประตูหน้าต่าง เขียนลายทองรดน้ำ หอระฆัง 2 ชั้นที่หลังคาทำเป็นรูปปรางค์ลึกเข้าไป และมีต้นโพธิ์พุทธคยาจากอินเดียมาปลูกโดยอดีตเจ้าอาวาสวัดตำหนักใต้ เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2514

ในอุโบสถมีพระพุทธรูปที่ทำจากทองคำแท้ และภาพเขียนจิตรกรรมฝาผนังที่งดงามมาก ในวิหารมีพระพุทธรูปทำจากหินอ่อนแท้ เป็นพระพุทธรูปปางแสดงปฐมเทศนาและรูปจำลองหลวงปู่เสือ เจดีย์ย่อมุมไม้สิบสองมีฐานสิงห์ 4 ชั้น เหนือฐานสิงห์เป็นฐานบัวองค์ระฆังย่อมุมไม้สิบสอง เหนือขึ้นไปเป็นฐานสี่เหลี่ยมย่อมุมและฐานบัวหงาย 1 องค์ ส่วนยอดเหนือปล่องไฉนหักหาย ปัจจุบันกรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนเจดีย์องค์นี้เป็นโบราณสถาน วัดยังมีรูปจำลองอดีตเจ้าอาวาส

แหล่งข้อมูล: https://th.wikipedia.org/

ข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว

พิกัด Google Map

ข้อมูลการเดินทาง

วิธีการไปยัง วัดสมรโกฏิ ที่ เมืองนนทบุรี โดย รถบัส, รถไฟใต้ดิน หรือ เรือ? คลิก

วัดตำหนักใต้

วัดตำหนักใต้ เป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์มหานิกายในตำบลท่าทราย อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี

ก่อนที่จะสร้างวัด สถานที่ตั้งเคยเป็นที่สร้างพลับพลาที่ประทับชั่วคราวของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี และสันนิษฐานว่าวิหารและหอระฆังสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2367 (รัชกาลที่ 3) เดิมวัดนี้เรียกกันว่า วัดตำหนัก ต่อมาสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส เสด็จตรวจราชการคณะสงฆ์เมื่อปี พ.ศ. 2464 ทรงเห็นว่ามีชื่อวัดซ้ำ จึงได้ต่อคำว่า ใต้ท้ายชื่อ จากทิศที่ตั้ง

พระอุโบสถหลังใหม่ สร้างขึ้นจากนำบานประตูหน้าต่าง เพดานของอุโบสถหลังเก่ามาใช้ ซึ่งหน้าบันนั้นเป็นไม้สักแกะสลักเป็นรูปนกประดับด้วยพุดตานเทศ มีรูปช้างทรงเครื่อง ยืนอยู่เหนือเมฆตรงกลางลายกระหนก พระประธานเป็นปางมารวิชัยสมัยสุโขทัย วิหารเก่าแก่ซึ่งมีหน้าบันเป็นไม้สักแกะสลักเป็นรูปกระหนกดอกจอก มีรูปม้าทรงเครื่องอยู่ภายในกระหนก ซุ้มบานประตู ซุ้มหน้าต่าง เป็นลายดอกไม้ปูนปั้นยังคงเหลืออยู่บ้าง บานประตูหน้าต่าง เขียนลายทองรดน้ำ หอระฆัง 2 ชั้นที่หลังคาทำเป็นรูปปรางค์ลึกเข้าไป และมีต้นโพธิ์พุทธคยาจากอินเดียมาปลูกโดยอดีตเจ้าอาวาสวัดตำหนักใต้ เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2514

มีบันทึกว่า วัดตำหนักใต้เป็นจุดที่พระเจ้าตากสินเสด็จพระราชดำเนินมารับพระแก้วมรกตเข้าสู่พระนคร เพื่อประดิษฐานที่วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร

แหล่งข้อมูล: https://th.wikipedia.org/

ข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว

พิกัด Google Map

ข้อมูลการเดินทาง

วิธีการไปยัง วัดตำหนักใต้ ที่ เมืองนนทบุรี โดย รถบัส, รถไฟใต้ดิน หรือ เรือ? คลิก

วัดแสงสิริธรรม

วัดแสงสิริธรรม หรือชื่อเดิม วัดขวิด เป็นวัดราษฎร์เก่าแก่ตั้งแต่สมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ตั้งอยู่ในหมู่ที่ 5 บ้านเตาอิฐ ตำบลท่าอิฐ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี สร้างขึ้นราวปี พ.ศ. 2327 สำหรับชื่อวัดแสงสิริธรรมในปัจจุบันนั้น ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อปี พ.ศ. 2334 ในสมัยรัชกาลที่ 1 นับตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

วัดแสงสิริธรรมมีจุดเด่นที่สำคัญ คือ พระอุโบสถและเจดีย์รายเก่า ภายในพระอุโบสถประดิษฐานพระประธานพระพุทธศรีโรจนชัย หรือที่ชาวบ้านเรียก หลวงพ่อโต พระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัย กับหลวงพ่อดำ พระพุทธรูปหล่อสัมฤทธิ์ปางมารวิชัยสมัยอยุธยา ซึ่งมีประวัติเคยมีการลักลอกโจรกรรมถึงสามครั้งแต่ก็ไม่สำเร็จ

ในวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2558 วัดแสงสิริธรรมได้รับการขึ้นทะเบียนจากกรมศิลปากรเป็นโบราณสถาน ระบุ 24 มีนาคม 2558 เล่ม 132 ตอนพิเศษ 65 ง หน้า 26[3] ปัจจุบัน นอกจากตัววัดแสงสิริธรรมแล้ว ยังมีตลาดน้ำขนาดเล็กซึ่งตั้งอยู่ติดกับพระอุโบสถเก่า เป็นแหล่งท่องเที่ยวโดยรอบเกาะเกร็ดรอบนอกอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดนนทบุรี

แหล่งข้อมูล: https://th.wikipedia.org/

ข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว

พิกัด Google Map

ข้อมูลการเดินทาง

วิธีการไปยัง วัดแสงสิริธรรม ที่ ปากเกร็ด โดย รถบัส? คลิก

วัดเกาะพญาเจ่ง

วัดเกาะพญาเจ่ง เป็นวัดที่สร้างขึ้นปี พ.ศ. 2318 ต่อมาเจ้าพระยามหาโยธา (ทอเรียะ คชเสนี) ได้บูรณะและสร้างวัดต่อจากเจ้าพระยามหาโยธา (เจ่ง คชเสนี) ผู้เป็นบิดา เดิมเรียกว่าวัดเกาะหรือวัดเกาะบางพูด เมื่อมีชุมชนชาวมอญอพยพเข้ามาบริเวณนี้จึงถูกเรียกว่า วัดเกาะรามัญ ต่อมาหลวงบริณัยจรรยาราษฎร์ (มณฑล คชเสนี) ผู้สืบสกุลของเจ้าพระยามหาโยธา (เจ่ง) เปลี่ยนชื่อวัดเป็นวัดเกาะพญาเจ่งเพื่อเป็นอนุสรณ์แก่บรรพบุรุษ

วัดเกาะพญาเจ่งเป็นสถานที่เกิดเหตุการณ์เรือพระประเทียบล่มในแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณหน้าวัด อันนำมาสู่การสวรรคตของสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี

วัดเกาะพญาเจ่ง สร้างขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2318 และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ. 2330 ต่อมาเจ้าพระยามหาโยธา (ทอเรียะ คชเสนี) ได้บูรณะและสร้างวัดต่อจากเจ้าพระยามหาโยธา (เจ่ง คชเสนี) ผู้เป็นบิดา เดิมเมื่อแรกสร้างเรียกว่าวัดเกาะหรือวัดเกาะบางพูด เนื่องจากอยู่ใกล้คลองบางพูด เมื่อมีชุมชนชาวมอญอพยพเข้ามาบริเวณนี้จึงถูกเรียกว่า วัดเกาะรามัญ ต่อมาหลวงบริณัยจรรยาราษฎร์ (มณฑล คชเสนี) ผู้สืบสกุลของเจ้าพระยามหาโยธา (เจ่ง) เปลี่ยนชื่อวัดเป็นวัดเกาะพญาเจ่งเพื่อเป็นอนุสรณ์แก่บรรพบุรุษ

เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2423 เกิดเหตุการณ์เรือสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี อัครมเหสีในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ล่มลง ณ ตำบลบางพูด สร้างความโทมนัสยิ่งมาสู่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งต่อมาพระองค์ได้ทรงโปรดให้สร้างอนุสรณ์สถานเจดีย์ด้านทิศเหนือของวัดเกาะพญาเจ่ง เป็นเจดีย์ทรงกลมขนาดใหญ่ตั้งอยู่บนฐานทรงกลมสูงมีซุ้มโค้งตามทิศทั้งสี่ ภายในฐานเจดีย์ประดิษฐานพระพุทธรูปพระศรีอาริย์สี่องค์ หันพระพักตร์ไปทางทิศทั้งสี่ โดยมีคำจารึกหน้าพระเจดีย์ มีข้อความว่า

แหล่งข้อมูล: https://th.wikipedia.org/

ข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว

พิกัด Google Map

ข้อมูลการเดินทาง

วิธีการไปยัง วัดเกาะพญาเจ๋ง ที่ ปากเกร็ด โดย รถบัส, เรือ หรือ รถไฟใต้ดิน? คลิก

วัดกู้

วัดกู้ เป็นวัดในจังหวัดนนทบุรี เป็นที่รู้จักจากเหตุการณ์เรือพระประเทียบล่มในแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณใกล้กับวัด อันนำมาสู่การสวรรคตของสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี พระอัครมเหสีในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะตามเสด็จฯ แปรพระราชฐานไปยังพระราชวังบางปะอิน พระองค์สิ้นพระชนม์พร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรรณาภรณ์เพ็ชรรัตน์ โสภางคทัศนิยลักษณ์ อรรควรราชกุมารี พระราชธิดา และพระราชบุตรในพระครรภ์ซึ่งยังไม่ทราบว่าเป็นพระราชโอรสหรือพระราชธิดา

วัดกู้ สันนิษฐานว่าสร้างมาแต่สมัยกรุงธนบุรี โดย “พระยาเจ่ง” หัวหน้าครอบครัวมอญที่อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในบริเวณเกาะเกร็ด จังหวัดนนทบุรี สันนิษฐานได้จากจิตรกรรมและศิลปะภายในวัดที่เป็นแบบมอญ เดิมเชื่อว่า วัดกู้ ตั้งชื่อตามเหตุการณ์กู้เรือและพระศพของของสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวีขึ้นมา แต่วัดกู้ เดิมชื่อวัดท่าสอน หรือ วัดหลังสวน เมื่อชาวมอญอพยพมาอยู่ ณ บริเวณนี้ พวกเขาเรียกพื้นที่นี้ว่า กวานกู้ ซึ่งเป็นภาษามอญแปลว่าบ้านไร่ ดังนั้นชื่อวัดกู้นี้จึงเกิดขึ้นมาก่อนเหตุการณ์ของพระนางเรือล่ม

ริเวณวัดยังมี “ศาลสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์” หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า “ศาลพระนางเรือล่ม” สร้างขึ้นในบริเวณที่เชื่อกันว่าเรือพระประเทียบของสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวีล่ม ตัวศาลนั้นจำลองแบบจากศาลาจตุรมุขของพระที่นั่งไอศวรรย์ทิพยอาสน์ในพระราชวังบางปะอิน ภายในประดิษฐานศาลและเรือที่กู้ขึ้นมา แต่แท้จริงแล้วสถานที่เกิดเหตุอยู่ที่หน้าวัดเกาะพญาเจ่ง หรือวัดเกาะบางพูด โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้สร้างพระเจดีย์เป็นพระราชอนุเสาวรีย์ขึ้นยังตำแหน่งที่เกิดเหตุ ณ ที่นั่น

แหล่งข้อมูล: https://th.wikipedia.org/

ข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว

พิกัด Google Map

ข้อมูลการเดินทาง

วิธีการไปยัง ซอยวัดกู้ ที่ ปากเกร็ด โดย รถบัส, รถไฟใต้ดิน หรือ เรือ? คลิก

วัดชมภูเวก

วัดชมภูเวก เป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์มหานิกายในตำบลท่าทราย อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี

สันนิษฐานชาวมอญ ที่ลี้ภัยจากพม่าในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายประมาณ พ.ศ. 2300 โบราณสถานแห่งแรกคือ พระมุเตา (เจดีย์แบบมอญ) สร้างราว พ.ศ. 2225 ถัดมาใน พ.ศ. 2460 ได้ทำการบูรณะสร้างพระมุเตาให้สูงใหญ่กว่าเดิมและสร้างเจดีย์รายที่มุมพระมุเตาทั้งสี่ของฐาน ต่อมาได้มีการสร้างวัดขึ้นในชื่อ วัดชมภูเวก อันหมายถึง ขอสรรเสริญเนินสูงที่มีความวิเวก (เงียบสงบ) วัดแห่งนี้ได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2517

สิ่งสำคัญภายในวัดคือพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวซึ่งประดิษฐานอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณใกล้กับท่าน้ำของวัดนอกจากนี้ยังมีกำแพงแก้วล้อมรอบพระอุโบสถที่ทำเป็นกำแพงป้อมค่ายแห่งเดียวในประเทศไทย จึงทำให้วัดแห่งนี้ถูกใช้เป็นสถานที่ถ่ายทำละครแนวย้อนยุคหลายเรื่อง

อุโบสถหลังเดิมทรงมหาอุด จัดเป็นรูปแบบสถาปัตยกรรมแบบวิลันดา อยู่หลังเจดีย์ที่มีรูปแบบเดียวกับเจดีย์ที่เมืองหงสาวดี ปลายผนังสอบเข้าเพื่อรับน้ำหนักแทนเสา ด้านหน้ามีพาไลหน้าบันประดับปูนปั้นลายดอกพุดตานกลางดอก เป็นเครื่องถ้วยลายครามและเบญจรงค์ ซุ้มประตูและหน้าต่างเป็นปูนปั้นลายพฤกษาบนผนังทั้งสี่ด้านมีภาพจิตรกรรมสีฝุ่นผสมกาวตามแบบอยุธยาตอนกลาง ฝีมือช่างสกุลนนทบุรีในยุคนั้นแสดงเรื่องราวทศชาติชาดกและพุทธประวัติโดยมีรูปพระแม่ธรณีบีบมวยผมในท่วงท่าที่อ่อนช้อยงดงามอยู่ในซุ้มเรือนแก้วยอดแหลม กรมศิลปากรยกย่องและรับรองว่าเป็นแบบอย่าง ภาพเขียนแม่พระธรณีที่งดงามที่สุดในโลก

อุโบสถหลังใหม่ ลักษณะเป็นทรงไทย สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2520 เป็นลักษณะทรงไทยใต้ถุนสูง 2 ชั้น หลังคาลดหลั่น 3 ชั้น มีช่อฟ้า ใบระกา และหางหงส์ หน้าบัน ซุ้มหน้าต่าง และประตูประดับด้วยกระจก จิตรกรรมฝาผนังภายในอุโบสถหลังใหม่นี้ เป็นภาพเขียนเกี่ยวกับเรื่องราวพุทธประวัติ ตามบานประตูหน้าต่างเขียนลายเทพพนม เป็นที่ประดิษฐานพระประธานศิลปะสุโขทัยและพระพุทธรูปยืนอีก 2 องค์

พระมุเตา หรือ เจดีย์ทรงมอญ มีเจดีย์รายที่มุมพระมุเตาทั้งสี่ของฐาน นอกจากนั้นได้สร้างเจดีย์อีกสององค์ด้านหลังพระมุเตาเพื่อบรรจุอัฐธาตุอดีตเจ้าอาวาส ส่วนพระมุเตาสันนิษฐานว่าสร้างเพื่อบรรจุพระบรมธาตุ

วิหาร ตั้งอยู่หลังอุโบสถเก่า มีลักษณะคล้ายอุโบสถหลังเก่ามีขนาดไล่เลี่ยกัน แต่ผนังวิหารเป็นแนวตั้งตรง หลังคาไม่มีกันสาด ไม่มีพาไล มีประตูทางด้านหน้าและหลัง หน้าบันและซุ้มประตูหน้าต่างประดับด้วยลวดลายปูนปั้นพันธ์พฤกษาแบบลายฝรั่ง ลายดอกพุดตานหรือดอกโบตั๋น

วัดมีเสาหงส์อันเป็นเอกลักษณ์ของวัดมอญ

แหล่งข้อมูล: https://th.wikipedia.org/

ข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว

พิกัด Google Map

ข้อมูลการเดินทาง

วิธีการไปยัง วัดชมภูเวก ที่ เมืองนนทบุรี โดย รถบัส, รถไฟใต้ดิน หรือ เรือ? คลิก

วัดโบสถ์บน

วัดโบสถ์บน เป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ตั้งอยู่ในหมู่ที่ 4 บ้านบางค้อ ตำบลบางคูเวียง อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี เป็นสถานที่สำคัญ 1 ใน 6 แห่งบนเส้นทางมหาปูชนียาจารย์ที่เกี่ยวเนื่องกับพระเดชพระคุณหลวงปู่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ครูผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย

วัดโบสถ์บนสร้างขึ้นราว พ.ศ. 2300 ในสมัยอยุธยา ไม่ทราบประวัติและนามผู้สร้าง กล่าวกันว่าพระมหากษัตริย์ในสมัยกรุงศรีอยุธยาเคยเสด็จมาประทับอยู่บริเวณที่ตั้งวัดนี้ ภายหลังทรงยกที่ดินให้สร้างเป็นวัด โดยโปรดเกล้าฯ ให้สร้างถาวรวัตถุที่เป็นศิลปกรรมแบบอยุธยา มีเอกลักษณ์คือ พระอุโบสถเป็นรูปทรงเรือสำเภา วัดได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อประมาณ พ.ศ. 2310

อาคารเสนาสนะและปูชนียวัตถุ ได้แก่ พระอุโบสถหลังเดิมซึ่งได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานในความดูแลของกรมศิลปากร และมีบันทึกของกรมศิลปากรว่าเคยบูรณะเมื่อปี พ.ศ. 2475 เนื่องจากหน้ามุขของพระอุโบสถพังทลายจึงเปลี่ยนหน้ามุขและกระเบื้องมุงหลังคาใหม่ และประมาณปี พ.ศ. 2500 ซ่อมผนังที่เสื่อมสภาพอีกครั้งหนึ่ง ภายในประดิษฐานพระประธานนามว่า พระพุทธชินราช และมีพระพุทธรูปบริวาร 28 องค์ และพระอัครสาวก 2 องค์ ส่วนพระประธานในอุโบสถหลังใหม่ พระพุทธบาทจำลองกว้าง 1 ศอกเศษ ยาว 3 ศอกเศษ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) สร้างถวายไว้เมื่อ 100 กว่าปีที่แล้ว เจดีย์เหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสอง 4 องค์ หน้าอุโบสถหลังเดิม[1] หน้าวัดติดกับคลองบางกอกน้อย มีหอนาฬิกาซึ่งสร้างเมื่อ พ.ศ. 2532 กุฏิสงฆ์จำนวน 15 หลัง เป็นอาคารไม้และครึ่งตึกครึ่งไม้ และหอสวดมนต์ซึ่งสร้างเมื่อ พ.ศ. 2520

กล้วัดมีตลาดน้ำวัดโบสถ์บน เปิดให้บริการทุกวัน วัดมีการจัดการทำบุญทอดผ้าป่ากลางลำน้ำซึ่งเป็นประเพณีที่หาชมได้ยากยิ่ง

แหล่งข้อมูล: https://th.wikipedia.org/

ข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว

พิกัด Google Map

ข้อมูลการเดินทาง

วิธีการไปยัง วัดโบสถ์บน ที่ บางกรวย โดย รถบัส? คลิก

วัดปรมัยยิกาวาส

วัดปรมัยยิกาวาส

วัดปรมัยยิกาวาส [ปะ-ระ-ไม-ยิ-กา-วาด] เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดวรวิหาร ตั้งในหมู่ที่ 7 บ้านโอ่งอ่าง ตำบลเกาะเกร็ด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี

  • ชื่อสามัญ วัดปากอ่าว
  • ที่ตั้ง เลขที่ 51 หมู่ที่ 7 ตำบลเกาะเกร็ด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี 11120
  • ประเภท พระอารามหลวง ชั้นโท ชนิดวรวิหาร
  • เจ้าอาวาส พระวชิรรังษี (บัวทอง ถาวโร) ป.ธ.5

วัดปรมัยยิกาวาสเป็นวัดโบราณ น่าจะสร้างหลังจากสมเด็จพระที่นั่งท้ายสระโปรดให้ขุดคลอง เมื่อ พ.ศ. 2264 ชาวเรือเรียก วัดปากอ่าว จนปี พ.ศ. 2307 พม่าบุกยึดเมืองนนทบุรี กลายเป็นวัดร้างเมื่อปี พ.ศ. 2317 ชาวมอญที่อพยพมาในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีได้บูรณปฏิสังขรณ์ใหม่ คนมอญเรียกว่า “เภี่ยมุเกี๊ยะเติ้ง” (มอญ: ဘာမုဟ်ဂဒုင် แปลว่า วัดแหลมที่ยื่นไปในน้ำ)

ในปี พ.ศ. 2417 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินทอดกฐินวัดมอญ 4 วัด ได้แก่ วัดปากอ่าว วัดรามัญ (วัดเกาะพญาเจ่ง) วัดบางพัง และวัดสนาม (สนามเหนือ) ต่อมาทรงเห็นว่าวัดปากอ่าวทรุดโทรมมาก จึงโปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์วัดใหม่ทั้งวัดโดยรักษารูปแบบมอญไว้ เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล สนองพระคุณสมเด็จพระบรมราชมาตามหัยิกาเธอ กรมพระยาสุดารัตน์ราชประยูร ผู้ทรงอภิบาลพระองค์มาแต่ทรงพระเยาว์ และได้พระราชทานนามวัดว่า วัดปรมัยยิกาวาส ซึ่งมีความหมายว่า “วัดของพระบรมอัยยิกา”

พระประธานประจำพระอุโบสถ

สิ่งสำคัญภายในวัดมีพระอุโบสถที่มีภาพจิตรกรรมฝาผนังแบบไทยประยุกต์ บานประตูหน้าต่างประดับ ลายปูนปั้นเขียนด้วยสี กำแพงแก้วรอบพระอุโบสถมีลวดลายที่สวยงาม เป็นกำแพงเหล็กอย่างดีทำมาจากยุโรป อีกทั้งด้านหลังพระอุโบสถมีพระเจดีย์รูปทรงแบบมอญซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงบรรจุพระบรมสารีริกธาตุที่เจดีย์นี้ เมื่อปี พ.ศ. 2427 และใกล้กันนั้นมีพระวิหารซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์ขนาดใหญ่เป็นที่สามในอำเภอปากเกร็ด ส่วนด้านหน้าพระวิหารเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปหินอ่อน ซึ่งพระปฏิมากรซานซิวซูนทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และมี “พระนนทมุนินท์” เป็นพระพุทธรูปปางขัดสมาธิเพชร หน้าตักกว้าง 1 เมตร สูง 1.65 เมตร หล่อด้วยโลหะ พระศาสนโสภณ (อ่อน) เจ้าคณะมณฑลกรุงเทพสร้างเป็นพระพุทธรูปประจำเมืองนนทบุรี พระยาราชสงครามเป็นผู้อัญเชิญมาประดิษฐานไว้ด้านใต้พระวิหารพระพุทธไสยาสน์

ดปรมัยยิกาวาส

วัดปรมัยยิกาวาสวรวิหาร มีประเพณีของเมืองสืบมาว่า เมื่อผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรีย้ายมาดำรงตำแหน่งใหม่ ได้จัดพิธีรับอย่างเป็นทางการพร้อมมีพิธีนมัสการพระพุทธรูปประจำเมืองนนทบุรีที่วัดแห่งนี้ สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อเป็นพระพุทธรูปประจำจังหวัดนนทบุรีประดิษฐานอยู่ในตู้กระจก ใต้พาไล ด้านหลังพระวิหารแห่งนี้ด้วย วัดมอญเก่าแก่แห่งนี้มีต้นไม้ใหญ่ให้ร่มเงามากมาย ทั้งยังมีม้านั่งสำหรับชมทัศนียภาพอันสวยงามริมเกาะ นับเป็นวัดสำคัญวัดหนึ่งของเกาะเกร็ด

แหล่งข้อมูล: https://th.wikipedia.org/

ข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว

พิกัด Google Map

ข้อมูลการเดินทาง

รถยนต์ส่วนตัว สามารถไปจอดรถยนต์ได้ที่วัดสนามเหนือ (วัดปิดประตู 3 ทุ่ม แสดงว่าใครเอารถมาอยู่ได้ถึง 3 ทุ่ม) โดยวันจันทร์-ศุกร์ จอดรถยนต์ฟรี แต่วันเสาร์-อาทิตย์มีการเก็บค่าจอดรถยนต์

เมื่อจอดรถยนต์แล้ว ให้เดินทางไปยัง “จุดนั่งเรือข้ามฝั่ง” ซึ่งจะจ่ายค่านั่งเรือที่ฝั่งวัดปรมัยยิกาวาส (มีค่าบริการขาไป 3 บาท และ ขากลับ 3 บาท) เมื่อถึงฝั่งเกาะเกร็ดแล้วบริเวณนั้นจะมีให้เช่า รถจักรยาน (50 บาท) และมอไซต์ไฟฟ้า (150 บาท) แบบเหมาตลอดทั้งวัน

วิธีการไปยัง วัดปรมัยยิกาวาสวรวิหาร ที่ ปากเกร็ด โดย รถบัส, รถไฟใต้ดิน หรือ เรือ คลิก

วัดบางขวาง

วัดบางขวางตั้งเป็นวัดเมื่อปี พ.ศ. 2445 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2501 สันนิษฐานว่าเป็นวัดตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เดิมเรียกว่า วัดบางยาง เพราะเคยมีต้นยางใหญ่ขึ้นอยู่ริมคลอง แต่เมื่อถูกฟ้าผ่าเทศบาลจึงต้องตัดลง วัดตั้งอยู่ปลายคลองบางสีทอง แต่เดิมนั้นคลองบางสีทองกับคลองบางขวางยังคงเป็นคลองเดียวกัน จนกระทั่งในสมัยพระเจ้าปราสาททอง พระองค์ทรงเห็นว่าการเดินเรือตามลำแม่น้ำที่มีอยู่นั้นเป็นการอ้อม ทำให้เปลืองเวลามาก จึงโปรดเกล้าฯ ให้จัดการขุดคลองลัดจากวัดเขมาภิรตารามถึงปากลำแม่น้ำอ้อม คลองบางสีทองจึงถูกตัดขาดไป โดยคลองตอนต้นยังคงเรียกว่าคลองบางสีทองตามเดิม ส่วนปลายคลองได้ชื่อใหม่ว่าคลองบางขวางเนื่องจากคลองได้ขวางหน้าในการขุดคลองลัด และได้ตั้งชื่อวัดใหม่ตามชื่อคลองว่า “วัดบางขวาง”

อุโบสถเดิมเป็นรูปทรงสมัยโบราณ มีพาไลเตี้ย ๆ อยู่ด้านหลัง แต่ปัจจุบันได้รับการบูรณะซ่อมแซมใหม่แล้วโดยพระญาณวโรดม (สนธิ์ กิจฺจกาโร) เมื่อปี พ.ศ. 2503 ภายในอุโบสถประดิษฐานพระประธาน เป็นพระพุทธรูปทรงเครื่อง นามว่า พระปางทรมานท้าวมหาชมพู พร้อมพระอัครสาวกเบื้องซ้ายและขวา ภายในมีภาพจิตรกรรมฝาผนังเกี่ยวกับเจดีย์ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุที่สำคัญของประเทศไทย นอกอุโบสถมีเจดีย์ทั้ง 4 ทิศ โดยเจดีย์ 3 องค์มีรูปปั้นเจ้าอาวาสทั้ง 3 รูป ที่มรณภาพไปแล้ว ได้แก่ เจ้าอธิการชื่น เขมงฺกโร, พระครูศีลาภิรม (ท้วม ธมฺมธโร) และพระครูศีลาภิรม (เนตร ปญฺญาทีโป) อีกทิศหนึ่งคือหอระฆังที่สร้างขึ้นมาพร้อมกับอุโบสถ

ศาลาการเปรียญเป็นตึกขาวสมัยโบราณสร้างด้วยไม้สักทอง และมีวิหารภายในเป็นที่เก็บพระพุทธรูปมากมายหลายสมัย และยังเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ด้านนอกมีเจดีย์ทั้ง 4 ทิศ เป็นทรงลังกา 2 องค์ และทรงย่อมุมไม้สิบสอง 2 องค์

แหล่งข้อมูล: https://th.wikipedia.org/

ข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว

พิกัด Google Map

ข้อมูลการเดินทาง

วิธีการไปยัง วัดบางขวาง ที่ เมืองนนทบุรี คลิก

วัดชลประทานรังสฤษดิ์

วัดชลประทานรังสฤษดิ์ เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ ในสังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ตั้งอยู่ในหมู่ที่ 1 บ้านปากด่าน ตำบลบางตลาด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี โดยมีพระพรหมมังคลาจารย์ (ปั่น ปทุมุตฺตโร) หรือหลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ เป็นเจ้าอาวาสรูปแรก

วัดชลประทานรังสฤษดิ์สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2502 เมื่อหม่อมหลวงชูชาติ กำภู อธิบดีกรมชลประทาน ไปเยี่ยมชมวัดอุโมงค์ (สวนพุทธธรรม) จังหวัดเชียงใหม่ ได้ฟังการแสดงธรรมของพระปัญญานันทภิกขุ ซึ่งจำพรรษาอยู่ที่วัดอุโมงค์ในขณะนั้น และเลื่อมใสวิธีการสอนธรรมะแนวใหม่ของท่าน จากเดิมที่นั่งเทศนาบนธรรมาสน์ ถือใบลาน มาเป็นการยืนพูดปาฐกถาธรรม แบบพูดปากเปล่าต่อสาธารณชน พร้อมทั้งยกตัวอย่างเหตุผลร่วมสมัย ทันต่อเหตุการณ์ เป็นการดึงดูดประชาชนให้หันเข้าหาธรรมะได้เป็นเป็นอย่างมาก

กรมชลประทานได้สร้างวัดใหม่ขึ้น ชื่อ “วัดชลประทานรังสฤษดิ์” ที่ ตำบลบางตลาด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี[3] เป็นการผาติกรรมทดแทนการเข้าใช้ที่ดินของวัดเชิงท่าและวัดหน้าโบสถ์ซึ่งตั้งอยู่ที่ปากคลองบางตลาด (ปัจจุบันยังคงมีโบราณสถานเดิมของทั้งสองวัด เรียกรวมกันว่า “พุทธสถานเชิงท่า-หน้าโบสถ์”) เพื่อสร้างเป็นท่าเรือของกรมชลประทาน และได้อาราธนาพระปัญญานันทภิกขุ เป็นเจ้าอาวาสใน พ.ศ. 2503

วัดชลประทานรังสฤษดิ์ มีบรรยากาศร่มรื่นทั่วบริเวณวัด มีกิจกรรมทุกเช้าวันอาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 9.00 น. โดยมีการสวดมนต์ บรรยายปาฐกถาธรรม และถวายเพลพระสงฆ์ ที่ลานหินโค้ง

ท่านปัญญานันทภิกขุ ได้แต่งหนังสือชื่อ “ชีวิตกับความตาย: ท่านได้อะไรเมื่อไปงานศพ” การจัดงานฌาปนกิจศพที่วัดชลประทานรังสฤษดิ์ จะเป็นไปอย่างเรียบง่ายต่างจากที่อื่นๆ มีเพียงการบรรยายธรรม ไม่มีการเลี้ยงอาหาร การแสดงมหรสพ และงดพวงหรีด

แหล่งข้อมูล: https://th.wikipedia.org/

ข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว

พิกัด Google Map

ข้อมูลการเดินทาง

วิธีการไปยัง วัดปราสาท ที่ เมืองนนทบุรี คลิก